section .comment-text { TEXT-ALIGN: center; font: 16px margin-bottom: 1pt; color:#ffffff; font-family:Courier New,Comic Sans MS; margin: 1pt; line-height: 20pt; letter-spacing: 1px; background-image:url(url ของภาพรูปของร่วง); background-position: 0% 100%; background-repeat:repeat;}

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ใบงาน

ใบงานเรื่อง เสียงในภาษาไทย
วิชาภาษาไทย
 จงตอบคำถามต่อไปนี้
 ๑.๑ เสียงในภาษา หมายถึง .........................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
 ๑.๑ เสียงในภาษาไทย มี ..............ชนิด ได้แก่ .............................................................................
.................................................................................................................................................................
 ๑.๓ สระในภาษาไทย มี ......... รูป ................เสียง
 ๑.๔ พยัญชนะไทย มี ........... รูป ...................เสียง
 ๑.๕ เสียงพยัญชนะต่อไปนี้เขียนด้วยรูปพยัญชนะใดบ้าง
  - / ข / ได้แก่ .................................................................................................................
  - / ช / ได้แก่ .................................................................................................................
  - / ซ / ได้แก่ .................................................................................................................
  - / ท / ได้แก่ .................................................................................................................
  - / พ / ได้แก่ .................................................................................................................
 ๑.๖ วรรณยุกต์ในภาษาไทย มี..........รูป..............เสียง
๒. สระต่อไปนี้เกิดจากการประสมระหว่างสระใด
 ๒.๑ เอีย .................................................. ๒.๒ เอือ .......................................................
 ๒.๓ อัว  .................................................. ๒.๔ เอียะ ......................................................
 ๒.๕ เอือะ .................................................. ๒.๖ อัวะ .......................................................
๓. จงบอกเสียงพยัญชนะต้นของคำต่อไปนี้
 ๓.๑ คราบ .................................................. ๓.๒ ไหน .......................................................
 ๓.๓ ควาย .................................................. ๓.๔ ควร  .......................................................
 ๓.๕ เจ็บ ..................................................... ๓.๖ ตรัง .. .....................................................
 ๓.๗ ยาย .................................................. ๓.๘ ขวาน .....................................................
 ๓.๙ เครื่อง ............................................... ๓.๑๐ ปรัก   .....................................................
๔. คำต่อไปนี้สะกดด้วย มาตราตัวสะกดใด
 ๔.๑ ใจ ....................................................... ๔.๒ สัญญาณ ....................................................
 ๔.๓ ประโยชน์ ......................................... ๔.๔ ยักษ์ ...........................................................
 ๔.๕ ภูธร .................................................. ๔.๖ กมล ............................................................
 ๔.๗ กาพย์ ................................................ ๔.๘ อัปรีย์ ..........................................................
 ๔.๙ ภาค .................................................... ๔.๑๐ สร้อย ........................................................
 ๔.๑๑ พิณ ................................................. ๔.๑๒ ฉล ...........................................................
 ๔.๑๓ มนุษย์ ............................................. ๔.๑๔ ระฆัง .......................................................
 ๔.๑๕ หงส์ ................................................ ๔.๑๖ ภูบาล .......................................................
 ๔.๑๗ สวัสดิ์ ............................................. ๔.๑๘ ธรรม .......................................................
 ๔.๑๙ สวรรค์ ............................................. ๔.๒๐ ทัพ ..........................................................
๕. จงบอกรูปและเสียงของวรรณยุกต์ต่อไปนี้
 ๕.๑ น้ำ ........................................................ ๕.๒ เสื่อ ............................................................
 ๕.๓ ธรรม .................................................. ๕.๔ หนุ่ม ..........................................................
 ๕.๕ พี่ ........................................................ ๕.๖ ฉัน .............................................................
 ๕.๗ เดือน .................................................. ๕.๘ ฝัง ..............................................................
 ๕.๙ ช่วย .................................................... ๕.๑๐ น้อง ..........................................................
๖. จงบอกว่าคำต่อไปนี้มีพยัญชนะต้นอยู่ในไตรยางศ์หมู่ใด และเป็นคำเป็นหรือคำตาย
 ๖.๑ สอบ ........................................................ ๖.๒ ม้า ...............................................................
 ๖.๓ ไทย ....................................................... ๖.๔ นก ..............................................................
 ๖.๕ เรียน ...................................................... ๖.๖ เพื่อน ...........................................................
 ๖.๗ หิว ......................................................... ๖.๘ อุ่น ..............................................................
 ๖.๙ ถือ .................................................... ๖.๑๐ ญาติ ..........................................................
๗. จงเขียนคำอ่านของคำต่อไปนี้
 ๗.๑ หฤทัย ..................................................... ๗.๒ สมณะ ........................................................
 ๗.๓ ธรรม ..................................................... ๗.๔ เทวดา .........................................................
 ๗.๕ เสนา ...................................................... ๗.๖ โพล้เพล้ ......................................................
 ๗.๗ อัปรีย์ ..................................................... ๗.๘ นิทรา .........................................................
 ๗.๙ เกษม ...................................................... ๗.๑๐ เปรมปรีดิ์ .................................................
๘. จงเขียนคำอ่านของคำต่อไปนี้
 ๘.๑ สุ-ราง-คะ-นาง ช = ................................. ๘.๒พุม-มะ-รา =  ...............................................
 ๘.๓ สะ-กุ-นา  =  ........................................... ๘.๔ มน-ทน   =..................................................
 ๘.๕ มะ-โห-ลาน  =  ...................................... ๘.๖ ออ-ระ-ชอน  =  ..........................................
 ๘.๗ บัน-เลง  =  ............................................. ๘.๘ หง  =  .........................................................
 ๘.๙ อัน-ทะ-พาน ............................................ ๘.๑๐ ตัน-หา =   .................................................
*****************************************

แผนการสอน

แผนการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
กลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระการเรียนรู้รายปี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ช่วงชั้นที่ ๔ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔)
สาระ สาระการเรียนรู้
๑. การอ่าน ๑) การอ่านเรื่องต่างๆ อย่างเข้าใจ โดยการแปลความ ตีความ ขยายความ และ
การใช้วิจารณญาณ
๒) การนำ ความรู้และประสบการณ์จากการอ่านและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ มาใช้
ในการพัฒนาสมรรถภาพการเขียนและพูด การคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหา และ
สร้างวิสัยทัศน์ในการดำ เนินชีวิต
๓) การใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างหลากหลาย เป็นเครื่องมือพัฒนา
สมรรถภาพการอ่านและการเรียนรู้
๔) การอ่านหนังสือประเภทต่างๆ และการวิเคราะห์เนื้อหา รูปแบบ คุณค่า
ด้านวรรณศิลป์และสังคมรวมทั้งการวิจารณ์และประเมินค่า
๕) การท่องจำ บทอาขยาน บทประพันธ์ที่มีคุณค่า และประทับใจไปใช้ในการ
สื่อสาร การอ้างอิงและการอ่านทำ นองเสนาะ
๖) การเลือกอ่านหนังสือและสื่อสารสนเทศทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ นำ ไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาต่อและการทำ งาน
๗) มารยาทการอ่าน การปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และสุขลักษณะในการอ่าน
หนังสือ การใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ การใช้ห้องสมุดหรือแหล่งการเรียนรู้
แสวงหาความรู้
๒. การเขียน ๑) การเขียนสะกดคำ ถกู ตอ้ งตามอกั ขรวธิ ี และการเลือกคาํ ในการเขยี นไดต้ รง
ความหมาย เรียบเรียงคำ เป็นประโยคได้ถูกต้องและถูกระดับภาษา
๒) การใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน โดยการเตรียมการเขียน การ
กำ หนดหัวข้อหรือชื่อเรื่อง รูปแบบ โครงเรื่อง เนื้อหา องค์ประกอบการเขียน
การยกร่างข้อเขียน การตรวจทาน การปรับปรุงแก้ไข และการเขียนเรื่องให้
สมบูรณ์
๓) การเขียนเรียงความ ย่อความ จดหมายธุรกิจ บันทึกประเภทต่างๆ การเขียน
แสดงทรรศนะเชิญชวน รายงาน โครงงาน บทความ และนิทาน
๔) การแต่งคำ ประพันธ์ประเภทโคลง
สาระ สาระการเรียนรู้
๕) มารยาทการเขียน โดยใช้ภาษาสุภาพ รับผิดชอบในสิ่งที่เขียน เขียนอย่าง
สร้างสรรค์ และอ้างอิงแหล่งที่มา
๖) การปลูกฝังนิสัยรักการเขียน โดยการสังเกต การศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล
และการจดบันทึกอย่างสมํ่าเสมอ
๓. การฟัง การดู
และการพูด
๑) การรู้จักเลือกฟัง เลือกดูสิ่งที่เป็นความรู้ และความบันเทิงอย่างมีวิจารณญาณ
๒) การนำ ความรู้จากการฟังและการดูสื่อรูปแบบต่างๆ มาใช้เป็นข้อมูลในการ
ตัดสินใจ และแก้ปัญหา
๓) การพูดแสดงความคิดเห็นและการวิเคราะห์ วิจารณ์ จากการฟังและการดู
อย่างมีเหตุผล
๔) การพูดในโอกาสต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการ กึ่งทางการ และไม่เป็นทางการ
โดยใช้ภาษาถูกต้อง เหมาะสม และมีเหตุผล ใช้กิริยาท่าทาง และการแสดงออก
ที่เหมาะสมตามหลักการพูด
๕) มารยาทการฟัง การดู และการพูด
๔. หลักการใช้ภาษา ๑) ธรรมชาติและลักษณะของภาษาไทย
๒) หลักการใช้คำ และกลุ่มคำ ในการสร้างประโยคประเภทต่างๆ ได้ตรงตาม
ความหมายและตรงจุดประสงค์ของการสื่อสารได้ชัดเจน
๓) การใช้ถ้อยคำ เหมาะแก่โอกาสและฐานะของบุคคล
๔) หลักการแต่งคำ ประพันธ์ประเภทโคลง
๕) การใช้ทักษะทางภาษาและเทคโนโลยีการสื่อสารในการพัฒนาความรู้ อาชีพ
และการดำ เนินชีวิต
๖) การใช้ภาษาถูกต้องตามระดับภาษา สอดคล้องกับวัฒนธรรม และพัฒนา
บุคลิกภาพ
๗) การชื่นชมผู้ใช้ภาษาของกลุ่มบุคคลในวงการต่างๆ ในสังคม
๕. วรรณคดีและ
วรรณกรรม
๑) กวีนิพนธ์ประเภทกาพย์ กลอน โคลง บทละคร และบทกวีร่วมสมัย
๒) วรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี และบทความ
๓) ลักษณะของภูมิปัญญาทางภาษา และการรวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้าน
สาระ สาระการเรียนรู้
๔) หลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น พิจารณาเรื่องที่อ่าน วิเคราะห์องค์ประกอบ
ของงานประพันธ์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ และคุณค่าด้านสังคม และ
การนำ ไปใช้ในชีวิตจริง
๕) ปัจจัยแวดล้อมที่มีส่วนให้เกิดวรรณคดีและวรรณกรรม ประวัติวรรณคดีและ
วรรณกรรมในสมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น
๖) การเข้าใจโลกทัศน์และวิถีชีวิตของคนไทยจากการอ่านวรรณคดีและ
วรรณกรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
รายวิชาภาษาไทย ท ๔๑๑๑
รายวิชาพื้นฐาน
ช่วงชั้นที่ ๔ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๔
หน่วยกิต ๑ เวลาเรียน ๔๐ ชั่วโมง / ภาคเรียน
คำ อธิบายรายวิชา
การอ่านสารประเภทต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ สามารถตีความ วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่
อ่านได้ ทั้งยังสามารถนำ แนวคิดหรือสารจากการอ่านจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อนำ มาพัฒนาตนเอง
ในรูปแบบต่างๆ ได้
การเขียนเรียงความ ย่อความ โดยตั้งประเด็นและสรุปตรงตามจุดประสงค์ การเขียนอธิบาย
ตรงตามจุดประสงค์ การเขียนบันเทิงคดีและการเขียนสร้างสรรค์อย่างมีมารยาท การเขียนเชิงวิชาการ
โดยใช้กระบวนการเขียนได้อย่างถูกต้อง
การแสดงความคิดเห็นจากการฟังและการดูสื่อรูปแบบต่างๆ อย่างมีเหตุผล การนำ ความรู้
จากการฟังและการดูข่าวต่างๆ มาเป็นข้อมูลในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล การพูดการฟัง
และการดูในโอกาสต่างๆ อย่างมีหลักการและมีกิริยาท่าทางที่เหมาะสมตามมารยาทในการพูด การ
ฟังและการดู การพูดและฟังเพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างมีหลักการและมีกิริยาท่าทางที่เหมาะสมตาม
มารยาทในการพูดและการฟัง
การอธิบายธรรมชาติของภาษา การอธิบายชนิดของคำ ชนิดต่างๆ การพูดแสดงความคิดเห็น
และโต้แย้งอย่างมีมารยาท การศึกษาความเป็นมาของภาษาไทย การแต่งคำ ประพันธ์ประเภทต่างๆ
ด้วยการใช้ถ้อยคำ ที่ไพเราะและแสดงออกทางอารมณ์และคุณค่าทางความคิด การรวบรวม
วรรณกรรมพื้นบ้าน การรวบรวมสำ นวนและภาษาถิ่น
การใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในการค้นคว้าความรู้ เพื่อนำ มาพัฒนาการเรียน การใช้
เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อพัฒนาอาชีพได้มากขึ้น การพูดและเขียนโดยใช้ภาษาในการสื่อสารตาม
หลักการใช้ภาษาและเห็นคุณค่าการใช้เลขโทย การมีคุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร
การอ่านบทกวีนิพนธ์ประเภทกาพย์และกลอนแล้ววิเคราะห์วิจารณ์องค์ประกอบของงาน
เขียน การอ่านวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น หรือนวนิยาย หรือสารคดี หรือบทความแล้ววิเคราะห์
องค์ประกอบของงานเขียน
การศึกษาประวัติวรรณคดีและวรรณกรรมในสมัยสุโขทัย เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าใจ
โลกทัศน์ และวิถีชีวิตของคนไทย
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. แสดงความสามารถอ่านหนังสือ ทั้งบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองอย่างมีวิจารณญาณ
ตีความ แปลความ ขยายความเรื่องที่อ่าน วิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ตามหลักการอ่าน ระบุ
ข้อเท็จจริงข้อคิดเห็นด้วยการพูดและเขียน
๒. แสดงความสามารถการอ่านหนังสือ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ประเมินคุณค่าของ
หนังสือ ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์และประเมินตามหลักการอ่านและพิจารณาหนังสือ โดยอภิปราย
เขียนอธิบาย สรุปเรื่องราวและข้อคิดเห็นในเชิงวรรณศิลป์ และท่องจำ คำ ประพันธ์ประเภทร้อยกรอง
ที่มีคุณค่า
๓. แสดงความเข้าใจคำ ศึกษาสำ นวน โวหาร อธิบายความหมายได้ด้วยการพูด การเขียน
การค้นคว้าหาความหมายจากพจนานุกรม จัดทำ รายงานหรือโครงงาน
๔. อ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือจากแหล่งเรียนรู้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เขียนสรุป
และเขียนวิจารณ์ ให้ข้อคิดได้กว้างขวาง และใช้การอ้างอิง
๕. แสดงมารยาทการอ่าน โดยอ่านอย่างมีสมาธิไม่พูดคุยหรือรบกวนผู้อื่นในห้องสมุดหรือ
ในห้องเรียน
๖. แสดงนิสัยรักการอ่านโดยอ่านหนังสืออยู่เสมอและจดบันทึกเรื่องที่อ่าน และนำ ไปใช้
อ้างอิงได้
๗. เขียนเรียงความ ย่อความ เขียนอธิบาย โดยใช้กระบวนการเขียนพัฒนาข้อเขียนให้มี
ประสิทธิภาพ มีมารยาทการเขียน และนิสัยรักการเขียน
๘. แสดงมารยาทการเขียน โดยใช้ลายมือที่อ่านง่าย ใช้ภาษาที่สุภาพ แสดงความคิดในการ
สื่อสารได้ชัดเจน เขียนมีวรรคตอน และเขียนมีย่อหน้า ใช้ภาษาชวนอ่าน
๙. แสดงนิสัยรักการเขียนโดยจดบันทึกความรู้ ประสบการณ์จากการอ่าน การฟัง และการ
ดูอย่างเป็นระบบ นำ ความรู้และประสบการณ์จากการบันทึก ใช้ประโยชน์ในการเขียนและการพูด
๑๐. ฟังและดูสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ใช้ความรู้และข้อมูลจากการฟังและการดู ตัดสินใจและ
แสดงความคิดเห็น ด้วยการอภิปรายหรือการเขียน และมีมารยาทในการฟังหรือการดู โดยตั้งใจฟัง
และดู ใช้ภาษาในการซักถามอย่างสุภาพ
๑๑. พูดแสดงความคิดเห็นในการประชุม อภิปรายหรือสนทนาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็น
ทางการ โดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง และมีมารยาทในการพูดในที่ประชุม โดยใช้ภาษาและกิริยาท่าทางที่
สุภาพ
๑๒. แสดงความเข้าใจลักษณะภาษาไทย โดยตั้งข้อสังเกตลักษณะภาษาไทยด้วยการเขียน
หรือพูดอธิบาย คำ ถามและยกตัวอย่างได้ถูกต้อง
๑๓. เลือกใช้ถ้อยคำ ในการพูดและการเขียนสื่อสาร โดยใช้คำ และกลุ่มคำ โดยการเรียบเรียง
เป็นประโยค เพื่อสื่อสารได้สละสลวยตรงตามเจตนาของการสื่อสาร
๑๔. แสดงความสามารถการแต่งโคลงสี่สุภาพ กลอนสุภาพ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง
อินทรวิเชียรฉันท์ และวสันตดิลกฉันท์ได้ถูกต้องตามลักษณะคำ ประพันธ์ โดยใช้ถ้อยคำ แสดง
ความงามทางภาษา และความคิด และมีลักษณะวรรณศิลป์
๑๕. เขียนบทความหรือเขียนรายงานทางวิชาการ หรือเขียนตอบคำ ถาม โดยใช้ถ้อยคำ ใน
กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ได้ถูกต้องตามความรู้ของแต่ละกลุ่มสาระ
๑๖. ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในการค้นคว้าหาความรู้ และพัฒนาความรู้ด้านอาชีพ ด้าน
การเรียน และการดำ เนินชีวิต นำ ความรู้มาอภิปราย เขียนรายงาน อธิบาย และเขียนเชิงสร้างสรรค์
๑๗. ใช้และเขียนตัวเลขไทยอยู่เสมอ และชื่นชมต่อการใช้ตัวเลขไทย
๑๘. อ่านวรรณคดี และวรรณกรรมประเภทบทความ เรื่องสั้น กาพย์ กลอน แสดงความ
คิดเห็นเชิงวิจารณ์ นำ หลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้นมาใช้ในการวิจารณ์ ด้านเนื้อเรื่อง แนวคิด
โครงเรื่อง และคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ สังคม ศิลปกรรม การดำ เนินชีวิต โดยการอภิปรายแสดง
ความคิดเห็น หรือเขียนเป็นบทความวิจารณ์วรรณคดีที่อ่าน
๑๙. แสดงความสามารถในการเขียนบทละครสั้นๆ และแสดงบทบาทสมมติจากเรื่องราวที่
ศึกษามาแล้ว ได้อย่างน่าประทับใจ
๒๐. แสดงความเข้าใจประวัติวรรณคดีสมัยกรุงสุโขทัย ประวัติกวี เหตุการณ์บ้านเมืองที่
ก่อให้เกิดวรรณคดีและคุณค่าของวรรณคดีด้วยการพูด การเขียนและนำ เสนอในรูปโครงงานหรือ
รายงาน
การจัดทำ หน่วยการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้ ๘ หน่วย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
เวลา ๔๐ ชั่วโมง / ภาคเรียนที่ ๑
หน่วยการเรียนรู้ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง)








กาญจนกานท์
พระครูวัดฉลอง
นิราศพระบาท
สายใยของธรรมชาติคือสายใยของชีวิต
มอม
นายขนมต้มชกพม่าถวายตัวพระเจ้าอังวะ
ราตรี
ประวัติวรรณคดีสมัยสุโขทัย
๑๐






๑๐
หน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
จำ นวนหน่วย ๑ หน่วย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
เวลา ๑๐ ชั่วโมง
หน่วยที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้
๑ กาญจนกานท์๑. แสดงความสามารถในการอ่าน
บทร้อยกรองตามฉันทลักษณ์ของ
คำ ประพันธ์แต่ละประเภทได้ถูกต้อง
และไพเราะ
๒. อ่านบทร้อยกรองที่สูงค่าจำ นวน ๑๐
บาท แล้วตีความ แปลความ แสดง
ข้อคิดเห็น และความรู้สึกต่อ บทกวี
ที่ได้อ่าน
๓. นำ ความรู้ที่ได้จากการฟัง ดู มาใช้
เป็นข้อมูลในการพูดแสดงความคิดเห็น
๔. เขียนผังมโนภาพของงานประพันธ์
แต่ละเรื่องได้ใจความ ครบถ้วน และ
ถูกต้อง
๕. เขียนเรียงความแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับบทร้อยกรองที่ได้อ่านหรือฟัง
๖. เขียนบทละครพูดจากการตีความจาก
บทร้อยกรอง และแสดงบทบาทสมมติ
๗. นำ ความรู้ที่ได้จากการฟังดูมาใช้เป็น
ข้อมูลในการพูดแสดงความคิดเห็น
๘. ใช้หลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น
ในการประเมินค่างานประพันธ์
๑. การอ่านทำ นองเสนาะ
ประเภทกลอน , กาพย์ , โคลง
และฉันท์
๒. การท่องจำ บทประพันธ์
๓. การอ่านตีความ , แปลความ
๔. การพูดแสดงความคิดเห็น
๕. การเขียนผังมโนภาพ
๖. การเขียนเรียงความแสดง
ความคิดเห็น
๗. การเขียนบทละคร
๘. การแต่งบทร้อยกรอง
ประเภทกลอน , กาพย์ , โคลง
และฉันท์
๙. หลักการวิจารณ์วรรณคดี
เบื้องต้น และการประเมินคุณ
ค่างานประพันธ์ด้านวรรณศิลป์
และสังคม
แผนการจัดการเรียนรู้
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่องกาญจนกานท์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
ระยะเวลาการสอน ๑๐ ชั่วโมง
กระบวนการเรียนรู้
๑. การอ่านทำ นองเสนาะบทร้อยกรองเรื่องกาญจนกานท์ การท่องจำ บทประพันธ์
๒. การอ่านตีความ แปลความ ขยายความ และสรุปความจากเรื่องที่อ่าน
๓. การพูดแสดงความคิดเห็น
๔. การเขียนผังมโนภาพ
๕. การเขียนเรียงความแสดงความคิดเห็น
๖. การเขียนบทละคร
๗. การแต่งบทร้อยกรอง
๘. หลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้นและการประเมินคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. เพื่อให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองเรื่องกาญจนกานท์ได้ถูกต้องตามหลักการอ่านทำ นอง
เสนาะของคำ ประพันธ์แต่ละชนิด และท่องจำ บทประพันธ์ที่ไพเราะได้
๒. เพื่อให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองแล้วตีความ แปลความ และสรุปได้
๓. เพื่อให้นักเรียนพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อบทกวีที่อ่านได้
๔. เพื่อให้นักเรียนสรุปความคิดจากบทร้อยกรองแล้วเขียนเป็นผังมโนภาพได้
๕. เพื่อให้นักเรียนเขียนเรียงความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทร้อยกรองที่อ่านหรือฟัง
๖. เพื่อให้นักเรียนเขียนบทละครจากการตีความจากบทร้อยกรองเพื่อแสดงบทบาทสมมติได้
๗. เพื่อให้นักเรียนแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอน กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง โคลง และ
อินทรวิเชียรฉันท์ได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
๘. เพื่อให้นักเรียนใช้หลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น เพื่อประเมินคุณค่างานประพันธ์ด้า
วรรณศิลป์และสังคม
สาระการเรียนรู้
๑. การอ่านบทร้อยกรอง
๒. การอ่านตีความ แปลความ ขยายความและสรุปความ
๓. การพูดแสดงความคิดเห็น
๔. การเขียนผังมโนภาพ
๕. การเขียนเรียงความ
๖. การเขียนบทละคร
๗. การแต่งบทร้อยกรอง
๘. การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น
กระบวนการจัดการเรียนรู้
๑. การอ่านบทร้อยกรองเรื่องกาญจนกานท์ ซึ่งประกอบด้วยบทประพันธ์ ๑๐ เรื่อง แต่งด้วย
คำ ประพันธ์ประเภทโคลง กลอน กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และอินทรวิเชียรฉันท์ โดยอ่านทำ นอง
เสนาะได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ และเลือกบทประพันธ์ที่ประทับใจ โดยอ่านทำ นองเสนาะได้
ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ และเลือกบทประพันธ์ที่ประทับใจ ท่องเป็นบทอาขยานคนละ ๒ เรื่อง
เป็นอย่างน้อย
๒. การอ่านตีความ แปลความ ขยายความ และสรุปความบทร้อยกรองที่อ่าน แล้วพูด
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทร้อยกรองแต่ละเรื่องที่ได้อ่าน นำ เสนอผลงานหน้าชั้นเรียนโดยแบ่ง
กลุ่มรับผิดชอบ โดยให้เพื่อนที่นั่งฟังมีส่วนร่วมในการประเมิน
๓. การนำ ความคิดที่สรุปได้จากบทร้อยกรองมาเขียนเป็นผังมโนภาพ ซึ่งแต่ละกลุ่มอาจคิด
ผังมโนภาพของบทร้อยกรองแต่ละเรื่องได้มากกว่า ๑ แบบ เมื่อนำ เสนอหน้าชั้นเรียนอาจได้แนวคิด
ใหม่ๆ จากเพื่อนกลุ่มอื่นอีกก็ได้
๔. การเขียนเรียงความแสดงความเห็นเกี่ยวกับบทร้อยกรองที่ศึกษาผ่านไปแล้ว โดยมีการ
วางโครงเรื่องก่อนจะเขียนขยายความ วิธีการนี้จะทำ ให้นักเรียนเขียนเรียงความได้ยาวมากขึ้นกว่าเดิม
๕. การเขียนบทละครสั้นโดยอาศัยเค้าโครงเรื่องจากบทร้อยกรองที่ได้ศึกษามาแล้ว โดย
สมาชิกในกลุ่มช่วยกันคิดและแต่ง พร้อมกับเตรียมการแสดงบทบาทสมมติจากบทละครโดยสมาชิก
ในกลุ่มทุกคนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน และสมาชิกกลุ่มที่ไม่ได้แสดงมีส่วนร่วมในการประเมินการ
แสดงบทบาทสมมติด้วย
๖. การแต่งคำ ประพันธ์ประเภทโคลง กลอน กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และอินทรวิเชียรฉันท์
โดยใช้ถ้อยคำ ได้ไพเราะ และถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของคำ ประพันธ์แต่ละชนิดอย่างน้อยชนิดละ
๑ บท อาจแต่งเป็นรายบุคคลหรือจับคู่ก็ได้ โดยครูยกย่องผลงานดีเด่น นำ ไปตีพิมพ์ลงวารสาร
ช.ส.สัมพันธ์ของโรงเรียน
๗. การศึกษาหลักการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้นเพื่อประเมินคุณค่างานประพันธ์
ด้านวรรณศิลป์และสังคม จากบทร้อยกรองที่กลุ่มตนได้ศึกษา นักเรียนร่วมกันอภิปรายแสดงความ
คิดเห็น และสรุปผลงานหน้าชั้นเรียน และเสริมความแม่นยำ โดยให้วิจารณ์วรรณกรรมเป็นราย
บุคคลโดยแต่ละคนเลือกเรื่องที่ตนสนใจ นำ เสนอหน้าชั้นเรียนโดยการสุ่มหรือจับฉลาก
กระบวนการวัดผลและประเมินผล
๑. สังเกตการอ่านทำ นองเสนาะ โดยใช้แบบการประเมินการอ่าน
๒. สังเกตความสนใจ การปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล
๓. สังเกตการปฏิบัติงานกลุ่ม ตามแบบประเมิน
๔. ตรวจผลงาน การปฏิบัติงานรายบุคคล งานกลุ่ม ตามแบบการประเมิน
๕. ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน
สื่อการเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนวรรณสารศึกษา เล่ม ๑
๒. ใบความรู้เรื่องที่ ๑ การแต่งบทร้อยกรอง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
ใบความรู้เรื่องที่ ๒ การอ่านตีความ แปลความ ขยายความ
ใบความรู้เรื่องที่ ๓ การเขียนเรียงความ
ใบความรู้เรื่องที่ ๔ การเขียนเรื่องสั้น
ใบความรู้เรื่องที่ ๕ หลักการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น
๓. ใบงาน มี ๗ ใบงาน ดังนี้
ใบงานที่ ๑ ศึกษาแผนผังและฉันทลักษณ์บทร้อยกรอง
ใบงานที่ ๒ การอ่านตีความ แปลความ ขยายความ และสรุปความบทร้อยกรอง
ใบงานที่ ๓ การเขียนผังมโนภาพ
ใบงานที่ ๔ การเขียนเรียงความ
ใบงานที่ ๕ การเขียนบทละครการแสดงบทบาทสมมติ
ใบงานที่ ๖ การแต่งบทร้อยกรอง
ใบงานที่ ๗ การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น
๔. แถบบันทึกเสียงการอ่านทำ นองเสนาะ
แหล่งการเรียนรู้
- ห้องสมุด
- ละครโทรทัศน์
- วิทยากรท้องถิ่น
- นิตยสาร , หนังสือพิมพ์
แผนการจัดการเรียนรู้
กาญจนกานท์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เวลาเรียน ๑๐ ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง กาญจนกานท์ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำ นวน ๗ แผน
ดังนี้
แผนการเรียนรู้ที่ ๑ การศึกษาแผนผังและฉันทลักษณ์บทร้อยกรอง ๑ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๒ การอ่านตีความ แปลความ ขยายความ สรุปความ ๒ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๓ การเขียนผังมโนภาพ ๑ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๔ การเขียนเรียงความ ๑ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๕ การเขียนบทละคร การแสดงบทบาทสมมติ ๒ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๖ การแต่งบทร้อยกรอง ๑ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๗ การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้นและการประเมิน
คุณค่างานประพันธ์ด้านวรรณศิลป์และสังคม ๒ ชั่วโมง
ผังความคิด (Mind Mapping)
แผนการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่องการศึกษาแผนผังและฉันทลักษณ์บทร้อยกรอง
กาญจนกานท์
ฝึกอ่านทำ นองเสนาะ
ศึกษาแผนผังและฉันทลักษณ์
คัดเลือกเป็นบทท่องจำ
กวินทรปณิธาน
โคลงสี่ดั้น
นมัสการพระพุทธคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์
นมัสการพระธรรมคุณ
กาพย์ฉบัง
นมัสการมาตาปิตุคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์
นมัสการพระสังฆคุณ
กาพย์ฉบัง
นมัสการอาจริยคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์
กาญจนคูหา
กลอนสุภาพ
นรชาติ
กาพย์ยานี
ความกรุณาปรานี
กลอนสุภาพ
ไทยเอย
โคลงสี่สุภาพ
แผนการเรียนรู้ที่ ๑
รายวิชาภาษาไทย (ท-๔๑๑๑)
เรื่อง การศึกษาแผนผังและฉันทลักษณ์บทร้อยกรอง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
จำ นวน ๑ ชั่วโมง
๑. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
มาตรฐาน ท ๑.๕ : การท่องจำ บทอาขยาน บทประพันธ์ที่มีคุณค่าและประทับใจไปใช้ใน
การสื่อสาร การอ้างอิงและการอ่านทำ นองเสนาะ
มาตรฐาน ท ๕.๑ : สามารถอ่านบทกวีนิพนธ์ประเภท กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ บทละคร
และบทกวีร่วมสมัย
๒. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. เพื่อให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองเรื่องกาญจนกานท์ได้ถูกต้องตามหลักการอ่านท ำนอง
เสนาะ
๒. เลือกบทประพันธ์ที่ไพเราะท่องจำ เป็นบทอาขยานได้
๓. สาระการเรียนรู้
๑. บทร้อยกรองในเรื่องกาญจนกานท์ มี ๑๐ บท คือ
๑.๑ กวินทรปณิธาน จากเรื่องลิลิตยวนพ่าย ไม่ปรากฏนามผู้ประพันธ์
๑.๒ กาญจนคูหา จากเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒
๑.๓ นรชาติ จากเรื่องกฤษณาสอนน้องคำ ฉันท์ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
๑.๔ นมัสการพระพุทธคุณ บทกวีของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
๑.๕ นมัสการพระธรรมคุณ บทกวีของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
๑.๖ นมัสการพระสังฆคุณ บทกวีของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
๑.๗ นมัสการมาตาปิตุคุณ บทกวีของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
๑.๘ นมัสการอาจริยคุณ บทกวีของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
๑.๙ ความกรุณาปรานี จากเรื่องเวนิสวาณิช พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖
๑.๑๐ ไทยเอย จากเรื่องลิลิตสามกรุง พระนิพนธ์ของพระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยา-
ลงกรณ์
๒. การอ่านทำ นองเสนาะบทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
๓. การศึกษาแผนผังและฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ กลอนสุภาพ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง
และอินทรวิเชียรฉันท์
๔. การเลือกบทประพันธ์ที่มีคุณค่าเป็นบทท่องจำ
๔. กระบวนการเรียนรู้
๑. นักเรียนทำ ข้อสอบก่อนเรียนเป็นแบบเขียนตอบจำ นวน ๕ ข้อ
๒. ครูแจกใบงานที่ ๑ ให้นักเรียนศึกษารายบุคคล
๓. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ทบทวนความเข้าใจเรื่องแผนผัง
และฉันทลักษณ์ จดบันทึกลงสมุด
๔. นักเรียนฟังการอ่านทำ นองเสนาะคำ ประพันธ์แต่ละชนิดจากแถบบันทึกเสียง หรือครู
หรือผู้เชี่ยวชาญ
๕. นักเรียนฝึกอ่านทำ นองเสนาะให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์และไพเราะ
๖. นักเรียนเลือกบทประพันธ์ที่ไพเราะเป็นบทท่องจำ คนละ ๒ บทเป็นอย่างน้อย (การ
สอบท่องจำ สอบนอกเวลาเรียน)
๕. สื่อการเรียนรู้
๑. แบบทดสอบก่อนเรียนแบบเขียนตอบ
๒. ใบงานที่ ๑ การศึกษาแผนผังและฉันทลักษณ์บทร้อยกรองประเภทต่างๆ
๓. ใบความรู้ เรื่องแผนผังและฉันทลักษณ์ของคำ ประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ กลอน
สุภาพ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และอินทรวิเชียรฉันท์
๔. แถบบันทึกเสียงการอ่านทำ นองเสนาะ
๕. หนังสือเรียนวรรณสารศึกษา เล่ม ๑ หน้า ๑๘๐ - ๑๙๓
๖. การวัดผลประเมินผล
ด้านความรู้
๑. ประเมินจากการทาํ แบบทดสอบ
ด้านทักษะ
๒. ประเมินจากการอ่านทำ นองเสนาะคำ ประพันธ์ประเภทต่างๆ
ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
๓. สังเกตจากการร่วมกิจกรรมของนักเรียน
๗. แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
๑. ห้องสมุด
๒. วิทยากรพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญการอ่านทำ นองเสนาะ
๓. วัดในชุมชน
ใบงานที่ ๑ การศึกษาแผนผังและฉันทลักษณ์บทร้อยกรอง
แผนการสอนที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
รายวิชา ท ๔๑๑๑
กาญจนกานท์
เวลา ๑ ชั่วโมง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อ่านบทร้อยกรองแต่ละประเภทได้ไพเราะ และถูกต้องตามฉันทลักษณ์
กิจกรรม
๑. ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องโคลง , ฉันท์ , กาพย์ และกลอนในเรื่องแผนผังและฉันทลักษณ์
ให้เข้าใจ (จดบันทึกลงสมุด)
๒. นักเรียนฟังการอ่านทำ นองเสนาะจากแถบบันทึกเสียง หรือครู หรือผู้เชี่ยวชาญ
๓. นักเรียนฝึกอ่านบทร้อยกรองแต่ละเรื่องในกาญจนกานท์ให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ และไพเราะ
ตามหลักการอ่านทำ นองเสนาะ
๔. เลือกท่องบทประพันธ์ที่ตนสนใจเป็นบทอาขยานคนละ ๒ เรื่อง (สอบนอกเวลาเรียน)
ผังความคิด (Mind Mapping)
แผนการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่องการอ่านตีความ แปลความ ขยายความ
ลิลิตสามกรุง
ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
ลิลิตยวนพ่าย
โคลงสี่ดั้น
พระนิพนธ์ของพระราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
โคลงสี่สุภาพ
กลอนสุภาพ
กวินทรปณิธาน
นมัสการอาจริยคุณ
นมัสการมาตาปิตุคุณ
นมัสการพระสังฆคุณ
กาญจนกานท์
จากเรื่องเวนิสวาณิช
พระราชนิพนธ์ใน
รัชกาลที่ ๖
ความกรุณาปรานี
ไทยเอย
กลอนสุภาพ
จากเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์
ในรัชกาลที่ ๒
กาญจนคูหา กาพย์ยานี
จากเรื่องกฤษณา
สอนน้องดำ ฉันท์
พระนิพนธ์ของสมเด็จ
พระมหาสมณเจ้ากรม
พระปรมานุชิตชิโนรส
นรชาติ
อินทรวิเชียรฉันท์
กาพย์ฉบัง
อินทรวิเชียรฉันท์
อินทรวิเชียรฉันท์
นมัสการพระธรรมคุณ
นมัสการพระพุทธคุณ
กาพย์ฉบัง
บทกวีของพระยาศรีสุนทรโวหาร
(น้อย อาจารยางกูร)
แผนการเรียนรู้ที่ ๒
รายวิชาภาษาไทย (ท-๔๑๑๑)
เรื่อง การอ่านตีความ แปลความ ขยายความ สรุปความ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
จำ นวน ๒ ชั่วโมง
๑. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
มาตรฐาน ท ๑.๑ การอ่านเรื่องต่างๆ อย่างเข้าใจโดยการแปลความ ตีความ ขยายความ
และใช้วิจารณญาณ
มาตรฐาน ท ๓.๓ การพูดแสดงความคิดเห็นและการวิเคราะห์ วิจารณ์ จากการฟัง และ
การดูอย่างมีเหตุผล
๒. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. เพื่อให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองแล้วตีความ แปลความ ขยายความ และสรุปความได้
๒. นักเรียนสามารถพูดแสดงความคิดเห็นต่อบทร้อยกรองที่อ่านได้โดยใช้วิจารณญาณ
๓. สาระการเรียนรู้
๑. การอ่านตีความ แปลความ ขยายความ และสรุปความ
๒. การพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อบทร้อยกรองที่อ่านอย่างมีวิจารณญาณ
๔. กระบวนการเรียนรู้
คาบเรียนที่ ๑
๑. ครูแจกใบงานที่ ๒ ให้นักเรียนศึกษาเป็นรายบุคคล
๒. ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องการอ่านตีความ แปลความ ขยายความ และสรุปความ
การพูดแสดงความคิดเห็น
๓. นักเรียนจับกลุ่มอภิปรายตีความ แปลความ ขยายความ และสรุปความพร้อมทั้งการ
แสดงความคิดเห็นต่อบทร้อยกรองเรื่องที่กลุ่มตนได้รับผิดชอบ เพื่อเตรียมตัวนำ เสนอผลการ
อภิปรายหน้าชั้นเรียน ดังนี้
กลุ่มที่ ๑ ศึกษาเรื่อง กวินทรปณิธาน
กลุ่มที่ ๒ ศึกษาเรื่อง กาญจนคูหา
กลุ่มที่ ๓ ศึกษาเรื่อง นรชาติ
กลุ่มที่ ๔ ศึกษาเรื่อง นมัสการพระพุทธคุณ
กลุ่มที่ ๕ ศึกษาเรื่อง นมัสการพระธรรมคุณ
กลุ่มที่ ๖ ศึกษาเรื่อง นมัสการพระสังฆคุณ
กลุ่มที่ ๗ ศึกษาเรื่อง นมัสการมาตาปิตุคุณ
กลุ่มที่ ๘ ศึกษาเรื่อง นมัสการอาจริยคุณ
กลุ่มที่ ๙ ศึกษาเรื่อง ความกรุณาปรานี
กลุ่มที่ ๑๐ ศึกษาเรื่อง ไทยเอย
๔. นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลการอภิปรายทำ เป็นรายงาน ๑ ฉบับ และสร้างชิ้นงานที่น่า
สนใจประกอบการรายงาน ๑ ชิ้น โดยใช้แผ่นลูกฟูกพลาสติกที่ครูแจกให้เป็นฐานสร้างชิ้นงาน
คาบเรียนที่ ๒
๕. นักเรียนตัวแทนกลุ่มออกมารายงานผลการอภิปรายหน้าชั้นเรียนตามลำ ดับเรื่องที่ ๑-๑๐
๖. ตัวแทนกลุ่มที่ไม่ได้ออกมารายงานหน้าชั้น ร่วมประเมินการรายงานของแต่ละกลุ่ม ตาม
แบบรายการประเมินที่ครูแจกให้
๗. ครูสรุปผลการรายงานของแต่ละกลุ่ม แจ้งผลการประเมินให้ทราบ ให้คำ ชมเชยกลุ่มที่
ทำ ได้ดี และให้คำ แนะนำ กลุ่มที่ยังบกพร่องเพื่อแก้ไขในคราวต่อไป
๕. สื่อการเรียนรู้
๑. ใบงานที่ ๒ การอ่านตีความ แปลความ ขยายความ และสรุปความ
๒. ใบความรู้ เรื่องการอ่านตีความ แปลความ ขยายความ และสรุปความ
๓. ใบความรู้ เรื่องการพูดแสดงความคิดเห็น
๔. แบบการประเมินการพูดรายงานผลการอภิปราย
๕. หนังสือเรียนวรรณสารศึกษาเล่ม ๑ หน้า ๑๘๐ - ๑๙๓
๖. การวัดผลประเมินผล
ด้านความรู้
๑. ประเมินจากการตีความ แปลความ
ด้านทักษะ
๒. ประเมินจากการทาํ รายงาน
๓. ประเมินจากการพูดสรุปความ
ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
๔. ประเมินจากการพูดแสดงความคิดเห็น
๕. สังเกตการร่วมกิจกรรมของนักเรียน
๗. แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
๑. ห้องสมุดโรงเรียน
๒. ห้องสมุดประชาชน
๓. พิพิธภัณฑ์
ใบงานที่ ๒ การอ่านตีความ , แปลความ , ขยายความ และสรุปความบทร้อยกรอง
แผนการสอนที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
รายวิชา ท ๔๑๑๑
กาญจนกานท์
เวลา ๒ ชั่วโมง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง - อ่านบทร้อยกรองแล้วแปลความ , ตีความ และสรุปความได้
- พูดแสดงความคิดเห็น , ความรู้สึกต่อบทร้อยกรองที่อ่านได้
กิจกรรม
๑. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๑๐ กลุ่ม เพื่อศึกษาบทร้อยกรอง กลุ่มละ ๑ เรื่อง
๒. นักเรียนอ่านใบความรู้เรื่องการอ่านตีความ แปลความ ขยายความ แล้วค้นหาความหมายของ
คำ ศัพท์ที่มีในเรื่อง แล้วสรุปสาระสำ คัญของบทร้อยกรองนั้นให้ได้ใจความ ทำ เป็นรายงานส่ง
๓. นักเรียนศึกษาที่มาของบทประพันธ์นั้นๆ ว่าเป็นผลงานของใคร มาจากเรื่องอะไรบ้าง
๔. นักเรียนสร้างชิ้นงานเสริมความเข้าใจในการรายงาน ๑ ชิ้น โดยใช้แผ่นลูกฟูกพลาสติกที่ครู
แจกให้ เพื่อการนำ เสนอที่น่าสนใจหน้าชั้นเรียน
๕. นักเรียนตัวแทนแต่ละกลุ่มนำ เสนอผลงานหน้าชั้นเรียน โดยเพื่อนกลุ่มที่ไม่ได้รายงานมีส่วนร่วม
ในการประเมินด้วย
แบบประเมินผลการปฏิบัติงานกลุ่ม
การเตรียม
ความพร้อม
ในการรายงาน
บุคลิกภาพการ
แต่งกาย
การใช้ภาษา
อักขรวิธี
นํ้าเสียง ชัด
เจนน่าฟัง
ข้อมูลถูกต้อง
เนื้อหา
กลุ่มที่ / ชอื่ เรอื่ ง ครบถ้วน
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ข้อเสนอแนะ
ลงชื่อ…………………………………ผู้ประเมิน
ผังความคิด (Mind Mapping)
แผนการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่องการเขียนผังมโนภาพ
มนุษย์
จากการดู
การอ่าน
จากการสัมผัส
จากการฟัง
การสังเกต
จากการ
ได้กลิ่น
จากการ
รับประทาน
สิ่งที่มากระทบ
เกิดมโนภาพ
ตรงตามความเป็นจริง
ด้อยกวา่ ความเปน็ จรงิ สูงกวา่ ความเปน็ จรงิ
เขียนผังมโนภาพ
นำ ไปใช้
เขียนเรียงความ เขียนโครงการ แผนการ
เขยี นจดหมาย บนั ทกึ เขยี นขอ้ เสนอ ข้อแนะนำ คำ กลา่ วตา่ งๆ เขยี นยอ่ ความ
แผนการเรียนรู้ที่ ๓
รายวิชาภาษาไทย (ท-๔๑๑๑)
เรื่อง การเขียนผังมโนภาพ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
จำ นวน ๑ ชั่วโมง
๑. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
มาตรฐาน ท ๑.๒ การนำ ความรู้และประสบการณ์จากการอ่านและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
มาใช้ในการพัฒนาสมรรถภาพการเขียนและพูด การคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหา และสร้างวิสัยทัศน์ใน
การดำ เนินชีวิต
มาตรฐาน ท ๒.๒ การใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน โดยการเตรียมการเขียนการ
กำ หนดหัวข้อหรือชื่อเรื่อง รูปแบบ โครงเรื่อง เนื้อหา องค์ประกอบการเขียน การยกร่างข้อเขียน
การตรวจทาน การปรับปรุงแก้ไข และการเขียนเรื่องให้สมบูรณ์
๒. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. เพื่อให้นักเรียนเขียนผังมโนภาพจากบทร้อยกรองได้
๒. เพื่อให้นักเรียนนำ การเขียนผังมโนภาพไปใช้ในการเรียบเรียงข้อความเพื่อการพูดและ
การเขียนได้
๓. สาระการเรียนรู้
การเขียนผังมโนภาพจากบทร้อยกรอง
๔. กระบวนการเรียนรู้
๑. ครูสนทนากับนักเรียนเรื่องการสร้างภาพในความคิดของคนเราว่ามีที่มาและลำ ดับขั้น
ตอนความคิดอย่างไร
๒. ให้นักเรียนอ่านเรื่องผังมโนภาพจากหนังสือเรียนวรรณสารศึกษา เล่ม ๑ หน้า ๕๓-๖๓
เพื่อศึกษาความหมายและวิธีการเขียนพร้อมทั้งตัวอย่างการเขียนผังมโนภาพ โดยมีครูอธิบายเพิ่มเติม
จนเป็นที่เข้าใจ
๓. นักเรียนช่วยกันคิดผังมโนภาพจากบทร้อยกรองตามกลุ่มที่แบ่งไว้แล้ว ๑๐ กลุ่ม อย่าง
น้อยกลุ่มละ ๑ แบบ
๔. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันออกแบบรูปแบบของผังมโนภาพให้น่าสนใจและสวยงาม
๕. ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำ เสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
๖. ครูสรุปผลงานและแนะนำ การใช้ผังมโนภาพในการเรียบเรียงข้อความเพื่อใช้ในการพูด
และการเขียนประเภทต่างๆ
๕. สื่อการเรียนรู้
๑. ใบงานที่ ๓ การเขียนผังมโนภาพ
๒. หนังสือเรียนวรรณสารศึกษา หน้าที่ ๕๓–๖๓
๖. การวัดผลประเมินผล
ด้านความรู้
๑. ประเมินจากการเขียนผังมโนภาพ
ด้านทักษะ
๒. ประเมินจากการเสนอผลงาน
ด้านคุณธรรม
๓. สังเกตการร่วมกิจกรรมของนักเรียน
๗. แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
๑. ห้องสมุด
๒. ข่าวสารจากสื่อมวลชนทุกประเภท
ใบงานที่ ๓ การเขียนผังมโนภาพ
แผนการสอนที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
รายวิชา ท ๔๑๑๑
กาญจนกานท์
เวลา ๑ ชั่วโมง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เขียนผังมโนภาพจากการสรุปความคิดจากบทร้อยกรองได้
กิจกรรม
๑. ให้นักเรียนอ่านเรื่อง “ผังมโนภาพ” จากหนังสือวรรณสารศึกษา เล่ม ๑ หน้า ๕๓ - ๖๓
และศึกษาวิธีการเขียนผังมโนภาพจากตัวอย่างให้เข้าใจ
๒. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนผังมโนภาพของบทร้อยกรองที่กลุ่มตนเองได้ศึกษา และ
รายงานไปแล้ว (บางกลุ่มอาจเขียนได้หลายแบบก็ได้)
๓. นำ เสนอผังมโนภาพที่เขียนได้หน้าชั้นเรียน
ผังความคิด (Mind Mapping)
แผนการเรียนรู้ที่ ๔ เรื่องการเขียนเรียงความ
ความหมายของเรียงความ
การเขียนเรียงความ
ลักษณะของเรียงความที่ดี ขั้นตอนการเขยี นเรยี งความ องค์ประกอบของเรียงความ
มีเอกภาพ
มีสัมพันธภาพ
มีสารัตถภาพ
การเลือกเรื่อง
การค้นคว้าหาข้อมูล
การวางโครงเรื่อง
การเรียบเรียงตามรูปแบบ
ของเรียงความ
คำ นำ
สรุป
เนื้อเรื่อง
แผนการเรียนรู้ที่ ๔
รายวิชาภาษาไทย (ท-๔๑๑๑)
เรื่อง การเขียนเรียงความ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
จำ นวน ๑ ชั่วโมง
๑. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
มาตรฐาน ท ๒.๒ การใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน โดยการเตรียมการเขียน
การกำ หนดหัวข้อเรื่อง รูปแบบ โครงเรื่อง เนื้อหา องค์ประกอบการเขียน การยกร่างข้อเขียน
การตรวจทาน การปรับปรุงแก้ไข และการเขียนเรื่องให้สมบูรณ์
มาตรฐาน ท ๒.๓ การเขียนเรียงความ ย่อความ จดหมายธุรกิจ บันทึกประเภทต่างๆ
การเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวน รายงาน โครงงาน บทความ และนิทาน
๒. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลักการเขียนเรียงความ
๒. นักเรียนสามารถเขียนเรียงความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทร้อยกรองที่ตนอ่านหรือ
ฟังได้
๓. สาระการเรียนรู้
๑. องค์ประกอบของเรียงความ
๒. ขั้นตอนการเขียนเรียงความ
๓. การเขียนเรียงความแสดงความคิดเห็น
๔. ลักษณะของเรียงความที่ดี
๔. กระบวนการเรียนรู้
๑. ครูสนทนากับนักเรียนเรื่องประสบการณ์การเขียนเรียงความที่ผ่านมา
๒. ครูแจกใบความรู้เรื่องการเขียนเรียงความ และให้นักเรียนศึกษาเรื่องการเขียนเรียงความ
จากหนังสือเรียนวรรณสารศึกษาเล่ม ๑ หน้า ๑๔๐–๑๕๒ โดยดูตัวอย่างการเขียนความนำ ตัวเรื่อง
คำ ลงท้าย และการเขียนโครงเรื่องของเรียงความให้เข้าใจ
๓. ครูแนะนำ การนำ ความรู้จากการเขียนผังมโนภาพมาใช้ในการเขียนโครงเรื่องเรียงความ
พร้อมยกตัวอย่างให้ฟัง ให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยจนเข้าใจ
๔. ให้นักเรียนเขียนโครงเรื่องของเรียงความโดยนำ แนวคิดมาจากบทร้อยกรองที่รายงาน
ผ่านไปแล้ว คนละ ๑ เรื่อง ให้ครูผู้สอนตรวจดูคร่าวๆ ว่าใช้ได้หรือไม่ ควรแก้ไขอย่างไร
๕. นักเรียนนำ โครงเรื่องที่ผ่านการตรวจและได้รับคำ แนะนำ แล้วไปเขียนขยายเนื้อความซึ่ง
จะได้ความยาวมากน้อยตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
๖. นักเรียนนำ เรียงความไปเขียนต่อเป็นการบ้านเพื่อส่งครูในวันรุ่งขึ้น
๗. ครูตรวจผลงานเสร็จแล้ว แจ้งผลและนำ ผลงานที่ดีแสดงเป็นตัวอย่างในป้ายนิเทศ
๕. สื่อการเรียนรู้
๑. ใบงานที่ ๔ การเขียนเรียงความ
๒. ใบความรู้เรื่องการเขียนเรียงความ
๓. หนังสือเรียนวรรณสารศึกษา เล่ม ๒ หน้า ๑๔๐–๑๕๒
๖. การวัดผลประเมินผล
ด้านความรู้
๑. ประเมินจากการปฏิบัติงานตามใบงาน
ด้านทักษะ
๒. ประเมินจากผลงานตามกิจกรรม
ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
๓. สังเกตจากการร่วมกิจกรรม
๗. แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
๑. เรียงความชนะการประกวดต่างๆ
๒. ห้องสมุด
ใบงานที่ ๔ การเขียนเรียงความ
แผนการสอนที่ ๔ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
รายวิชา ท ๔๑๑๑
กาญจนกานท์
เวลา ๑ ชั่วโมง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เขียนเรียงความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทร้อยกรองที่ตนอ่านหรือฟังได้
กิจกรรม
๑. ให้นักเรียนอ่านเรื่อง การเขียนเรียงความ จากหนังสือวรรณสารศึกษา เล่ม ๑ หน้า ๑๔๐ - ๑๕๒
และศึกษาตัวอย่างการเขียนความนำ , ตัวเรื่อง และคำ ลงท้าย จากใบความรู้เรื่อง การเขียน
เรียงความให้เข้าใจ
๒. ให้นักเรียนเขียนโครงเรื่องของเรียงความที่จะเขียนคนละ ๑ โครงเรื่องแล้วนำ ให้ครูผู้สอน
ตรวจดูคร่าวๆ ว่าใช้ได้หรือไม่ , บกพร่องอะไร ครูช่วยแนะนำ แก้ไขก่อนนำ ไปเขียนขยาย
เนื้อความต่อไป
๓. นักเรียนเขียนเรียงความตามโครงเรื่องที่ร่างไว้ จะได้ความยาวเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคยเขียนมา
ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ให้เวลานักเรียนที่เขียนไม่ทันไปเขียนต่อเป็นการบ้าน แล้วมาส่ง
วันรุ่งขึ้น)
ผังความคิด (Mind Mapping)
แผนการเรียนรู้ที่ ๕ เรื่องการเขียนบทละคร การแสดงบทบาทสมมติ
ความหมายของบทละคร เรื่องสั้น
การเขียนบทละคร
การเขียนเรื่องสั้น
กลวิธีการเขียนบทละคร การแสดงบทบาทสมมติ องค์ประกอบของบทละคร
กลวิธีการเล่าเรื่อง
กลวิธีในการดาํ เนนิ เรอื่ ง
กลวิธีการปิดเรื่อง
การเลือกตัวผู้แสดงตาม
บทบาท
การเตรียมตัวซักซ้อม
การศึกษาบทละคร
ทำ ความเข้าใจ
การเตรียมอุปกรณ์ประกอบฉาก
โครงเรื่อง
ฉากและบรรยากาศ
ตัวละคร
การกำ กับการแสดง
ความขัดแย้ง
บทสนทนา
แก่นเรื่อง
แผนการเรียนรู้ที่ ๕
รายวิชาภาษาไทย (ท-๔๑๑๑)
เรื่อง การเขียนบทละคร การแสดงบทบาทสมมติ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
จำ นวน ๒ ชั่วโมง
๑. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
มาตรฐาน ท ๒.๓ การเขียนเรียงความ ย่อความ จดหมายธุรกิจ บันทึกประเภทต่างๆ การ
เขียนแสดงทรรศนะเชิญชวน รายงาน โครงงาน บทความ และนิทาน
มาตรฐาน ท ๒.๖ การปลูกฝังนิสัยรักการเขียน โดยการสังเกต การศึกษาค้นคว้า รวบรวม
ข้อมูล และการจดบันทึกอย่างสมํ่าเสมอ
มาตรฐาน ท ๕.๒ วรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี และบทความ
๒. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจการเขียนเรื่องสั้น บทละครสั้นๆ ได้ดี
๒. นักเรียนสามารถเขียนบทละครสั้นๆ เพื่อการแสดงบทบาทสมมติได้
๓. นักเรียนสามารถแสดงบทบาทสมมติตามบทละครที่เขียนขึ้นได้อย่างเหมาะสม
๓. สาระการเรียนรู้
๑. การเขียนเรื่องสั้น
๒. การเขียนบทละคร
๓. การแสดงบทบาทสมมติ
๔. กระบวนการเรียนรู้
คาบเรียนที่ ๑
๑. ครูสนทนากับนักเรียนถึงประสบการณ์ในการอ่านเรื่องสั้น อ่านบทละคร และการชม
ละครโทรทัศน์ของนักเรียนที่ผ่านมา จะทำ ให้ครูได้ทราบนักเรียนมีทัศนคติ ความรู้ ความคิด และ
รสนิยมอย่างไร
๒. ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องการเขียนเรื่องสั้น การเขียนบทละคร การแสดงบทบาท
สมมติ
๓. ครูแจกใบงานเรื่องการเขียนบทละครและบทบาทสมมติ ให้นักเรียนจับกลุ่มเดิมเพื่อ
อภิปรายแนวคิดจากบทร้อยกรองที่ศึกษาและรายงานไปแล้ว นำ มาเขียนเป็นบทละครสั้นๆ โดยวาง
ตัวผู้แสดงบทบาทสมมติตามบทละครนั้นๆ ให้ทุกคนมีบทบาทในการแสดงด้วย
๔. นักเรียนเตรียมตัว ซักซ้อมความเข้าใจกับการแสดงบทบาทสมมติ เพื่อนำ เสนอหน้าชั้น
เรียนไปคาบต่อไป
คาบที่ ๒
๕. นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติตามบทละครที่กลุ่มตนเขียนขึ้นหน้าชั้นเรียน
๖. ตัวแทนนักเรียนกลุ่มที่ไม่ได้ออกไปแสดง ร่วมประเมินผลการแสดงตามแบบการ
ประเมินที่ครูแจกให้ (โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการประเมินด้วย)
๗. ครูแจ้งผลการประเมิน ชมเชยกลุ่มที่ทำ ได้ดี และชี้แจงข้อบกพร่องให้คำ แนะนำ กลุ่มที่
ต้องแก้ไข
๕. สื่อการเรียนรู้
๑. ใบงานที่ ๕ การเขียนบทละคร การแสดงบทบาทสมมติ
๒. ใบความรู้เรื่องการเขียนบทละคร การเขียนเรื่องสั้น การแสดงบทบาทสมมติ
๓. หนังสือเรียนวรรณสารศึกษา เล่ม ๑ หน้า ๑๘๐–๑๙๓
๖. การวัดผลประเมินผล
ด้านความรู้
๑. ประเมินจากการปฏิบัติตามใบงาน
ด้านทักษะ
๒. ประเมินจากผลงานการแสดง การเขียนบทละคร
ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
๓. สังเกตจากการร่วมกิจกรรม
๗. แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
๑. สื่อมวลชน วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สิ่งพิมพ์อื่นๆ
๒. ห้องสมุด
๓. เวทีการแสดง
ใบงานที่ ๕ การเขียนบทละคร การแสดงบทบาทสมมติ
แผนการสอนที่ ๕ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
รายวิชา ท ๔๑๑๑
กาญจนกานท์
เวลา ๒ ชั่วโมง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง บทละครสั้น และแสดงบทบาทสมมติจากบทละครได้
กิจกรรม
๑. ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้การเขียนเรื่องสั้น การเขียนบทละครให้เข้าใจ
๒. ให้นักเรียนอภิปรายตามกลุ่มย่อย เพื่อนำ แนวความคิดจากบทร้อยกรองมาเขียนเป็นบทละคร
สั้นๆ โดยให้ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการแสดงบทบาทสมมติด้วย
๓. นักเรียนในกลุ่มทุกคนซักซ้อมบทบาทการแสดงตามบทละครที่ช่วยกันเขียนเพื่อแสดงในคาบ
ต่อไป
๔. นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติหน้าชั้นเรียน กลุ่มที่นั่งดูช่วยประเมินผลการแสดงตาม
แบบที่ครูแจกให้ (แต่ละกลุ่มจะได้ประเมิน ๙ กลุ่ม ยกเว้นกลุ่มของตนเอง)
แบบประเมินผลการแสดงบทบาทสมมติ
การเตรียม
ความพร้อม
ในการแสดง
เนื้อเรื่อง
น่าสนใจ
มีสาระ
อุปกรณ์
ประกอบ
การแสดง
เหมาะสม
แสดงได้สม
บทบาทตาม
บทละคร
การใช้ภาษา
ของตัวละคร
กลุ่มที่ - ชื่อเรื่อง
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
ข้อเสนอแนะ
ลงชื่อ…………………………………ผู้ประเมิน
ผังความคิด (Mind Mapping)
แผนการเรียนรู้ที่ ๖ เรื่องการแต่งบทร้อยกรอง
ความหมายของบทร้อยกรอง
การแต่งบทร้อยกรอง
ประเภทของบทรอ้ ยกรอง คุณคา่ ของบทรอ้ ยกรอง แผนผัง และฉนั ทลกั ษณ์
โคลงสี่สุภาพ
กลอนสุภาพ
กาพย์ยานี ๑๑
ด้านวรรณศิลป์
ด้านสังคม
ด้านเนื้อหา
การนำ ไปใช้ในชีวิตจริง
กำ หนดจำ นวนคำ ใน ๑ บท
บังคับเอก - โท
บังคับสัมผัส
กาพยฉ์ บงั ๑๖ บงั คบั ครุ - ลหุ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
แผนการเรียนรู้ที่ ๖
รายวิชาภาษาไทย (ท-๔๑๑๑)
เรื่อง การแต่งบทร้อยกรอง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
จำ นวน ๑ ชั่วโมง
๑. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
มาตรฐาน ท ๒.๔ การแต่งคำ ประพันธ์ประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
มาตรฐาน ท ๒.๖ การปลูกฝังนิสัยรักการเขียนโดยการสังเกต การศึกษาค้นคว้า รวบรวม
ข้อมูล และการจัดบันทึกอย่างสมํ่าเสมอ
มาตรฐาน ท ๕.๑ กวีนิพนธ์ประเภทกาพย์ กลอน โคลง บทละครและบทกวีร่วมสมัย
๒. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องแผนผังและฉันทลักษณ์ของคำ ประพันธ์ประเภท
โคลงสี่สุภาพ กลอนสุภาพ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และอินทรวิเชียรฉันท์เป็นอย่างดี
๒. นักเรียนสามารถแต่งบทประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ กลอนสุภาพ กาพย์ยานี
กาพย์ฉบัง และอินทรวิเชียรฉันท์ได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์และมีความไพเราะ อย่างน้อยอย่างละ
๑ บท
๓. สาระการเรียนรู้
๑. แผนผังและฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ
๒. แผนผังและฉันทลักษณ์กลอนสุภาพ
๓. แผนผังและฉันทลักษณ์กาพย์ยานี ๑๑
๔. แผนผังและฉันทลักษณ์กาพย์ฉบัง ๑๖
๕. แผนผังและฉันทลักษณ์อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
๔. กระบวนการเรียนรู้
๑. ครูสนทนากับนักเรียนเรื่องความสนใจในบทร้อยกรองประเภทต่างๆ ให้นักเรียน
ยกตัวอย่าง “บทกวีในดวงใจ” ให้ฟังในห้องเรียน
๒. ครูแจกใบงานที่ ๖ เรื่องการแต่งบทร้อยกรอง
๓. นักเรียนศึกษาแผนผังและฉันทลักษณ์จากใบความรู้ที่นักเรียนจดบันทึกไว้แล้ว
๔. นักเรียนแต่งบทร้อยกรองประเภทละ ๑ บทเป็นอย่างน้อยให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
และมีความไพเราะ โดยแต่งเป็นรายบุคคลหรือจับคู่ก็ได้
๕. นำ เสนอผลงานหน้าชั้นเรียนตามความสมัครใจ หรือการสุ่มเรียกโดยครู
๖. ครูให้คำ ชมเชยผลงานที่ดีเด่น และให้คำ แนะนำ เพื่อแก้ไขผลงานที่บกพร่อง
๗. นำ ผลงานที่ดีเด่นติดแสดงที่ป้ายนิเทศ และนำ ลงตีพิมพ์ในวารสารของโรงเรียน
๕. สื่อการเรียนรู้
๑. ใบงานที่ ๖ การแต่งบทร้อยกรอง
๒. ใบความรู้เรื่องบทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
๓. หนังสือเรียนวรรณสารศึกษา เล่ม ๑ หน้า ๑๘๐–๑๙๓
๖. การวัดผลประเมินผล
ด้านความรู้
๑. ประเมินจากความถูกต้องของผลงาน
ด้านทักษะ
๒. ประเมินจากความไพเราะ ถูกต้องของผลงาน
ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
๓. สังเกตจากการร่วมกิจกรรม
๔. ประเมินจากผลงาน
๗. แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
๑. ห้องสมุด
๒. สื่อมวลชนอื่นๆ
๓. การจัดโต้วาที ประชันกลอนสด
ใบงานที่ ๖ การแต่งบทร้อยกรอง
แผนการสอนที่ ๖ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
รายวิชา ท ๔๑๑๑
กาญจนกานท์
เวลา ๑ ชั่วโมง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง แต่งบทร้อยกรองประเภทโคลง , กลอน , กาพย์ยานี , กาพย์ฉบัง
และอินทรวิเชียรฉันท์ ได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
กิจกรรม
๑. ให้นักเรียนศึกษาแผนผังและฉันทลักษณ์ของคำ ประพันธ์แต่ละประเภทที่จดบันทึกลงสมุด
ไว้แล้วอีกครั้งเพื่อทบทวนความแม่นยำ
๒. ให้นักเรียนแต่งบทประพันธ์แต่ละชนิดอย่างน้อยอย่างละ ๑ บท โดยความสมัครใจจะแต่ง
คนเดียว หรือจับคู่ก็ได้
๓. ผลงานที่ดีเด่น จะได้รับเลือกลงตีพิมพ์วารสาร ช.ส.สัมพันธ์
ผังความคิด (Mind Mapping)
แผนการเรียนรู้ที่ ๗ เรื่องการวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น
การประเมินคุณค่าวรรณศิลป์และสังคม
การวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดี
โคลง
กวินทรปณิธาน
ไทยเอย
กาญจนคูหา กาพย์ยานี
ความกรุณาปรานี
กาพย์ฉบัง
นมัสการพระพุทธคุณ
นมัสการมาตาปิตุคุณ
นมัสการอาจริยคุณ
นรชาติ
ประเภทของบทประพันธ์
กลอน กาพย์ ฉันท์
นมัสการพระธรรมคุณ
นมัสการพระสงฆคุณ
การประเมินคุณค่า
ด้านวรรณศิลป์
ด้านเนื้อหา
ด้านสังคม
การนำ ไปใช้ในชีวิตจริง
แผนการเรียนรู้ที่ ๗
รายวิชาภาษาไทย (ท-๔๑๑๑)
เรื่อง การวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
จำ นวน ๒ ชั่วโมง
๑. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
มาตรฐาน ท ๑.๔ การอ่านหนังสือประเภทต่างๆ และการวิเคราะห์เนื้อหา รูปแบบ คุณค่า
ด้านวรรณศิลป์และสังคม รวมทั้งการวิจารณ์และประเมินค่า
มาตรฐาน ท ๕.๔ หลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น พิจารณาเรื่องที่อ่าน วิเคราะห์องค์
ประกอบของงานประพันธ์ และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ และคุณค่าด้านสังคม และการนำ ไป
ใช้ในชีวิตจริง
๒. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น
๒. นักเรียนสามารถประเมินคุณค่างานประพันธ์ที่อ่านด้านวรรณศิลป์และสังคมได้
๓. สาระการเรียนรู้
คาบเรียนที่ ๑
๑. ครูสนทนากับนักเรียนถึงเรื่องการวิจารณ์ที่นักเรียนเคยใช้ในชีวิตประจำ วัน
๒. ครูแจกใบความรู้เรื่องการวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้นและะการประเมินคุณค่างาน
ประพันธ์ ให้นักเรียนได้ศึกษาและทำ ความเข้าใจ
๓. ครูแจกใบงานที่ ๗ ให้นักเรียนจับกลุ่มปฏิบัติตามเนื้อเรื่องที่เคยได้ปฏิบัติในกิจกรรม
ก่อนๆมาแล้ว
๔. ตัวแทนกลุ่มนำ เสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
คาบเรียนที่ ๒
๕. นักเรียนเลือกบทประพันธ์ที่ตนสนใจคนละ ๑ เรื่อง มาทำ การวิเคราะห์ วิจารณ์และ
ประเมินคุณค่าตามหลักการที่ปฏิบัติในกลุ่มในคาบที่แล้ว
๖. นำ เสนอผลงานหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล (หรือสุ่มเป็นบางคน)
๗. ทดสอบหลังเรียนด้วยข้อสอบแบบเขียนตอบ
๕. สื่อการเรียนรู้
๑. ใบงานที่ ๗ เรื่องการวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น
๒. ใบความรู้เรื่องการวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น และการประเมินคุณค่างาน
ประพันธ์
๓. หนังสือเรียนวรรณสารศึกษา เล่ม ๑ หน้า ๑๘๐–๑๙๓
๖. การวัดผลประเมินผล
ด้านความรู้
ประเมินจากแบบทดสอบ
ด้านทักษะ
ประเมินจากการปฏิบัติตามใบงาน
ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
ประเมินจากผลงาน
๗. แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
๑. ห้องสมุด
๒. หนังสือบทกวี วรรณคดีที่น่าสนใจ
ใบงานที่ ๗ การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น
แผนการสอนที่ ๗ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
รายวิชา ท ๔๑๑๑
กาญจนกานท์
เวลา ๒ ชั่วโมง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ใช้หลักการวิเคราะห์วรรณคดีเบื้องต้นเพื่อประเมินคุณค่างานประพันธ์ด้าน
วรรณศิลป์และสังคมได้
กิจกรรม
๑. ให้นักเรียนอ่านใบความรู้เรื่องหลักการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้นแล้วจับกลุ่มวิจารณ์บท
ร้อยกรองเรื่องที่ตนได้อ่านและรายงานไปแล้วเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ความเข้าใจ
๒. ให้นักเรียนแต่ละคนเลือกวรรณกรรมที่ตนสนใจมาวิเคราะห์วิจารณ์ตามหลักการ คนละ ๑ เรื่อง
๓. นำ เสนอผลงานหน้าชั้นเรียน (หากเวลาไม่พอ ใช้วิธีการสุ่มหรือจับฉลาก)